ทุ่งทานตะวัน

วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553

จรรยามารยาทในการใช้อินเตอร์เน็ต

Netiquette คืออะไร
Netiquette เป็นคำที่มาจาก “network etiquette” หมายถึง จรรยามารยาทของการอยู่ร่วมกันในสังคมอินเทอร์เน็ต หรือ cyberspace ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้ผู้คนเข้ามาแลกเปลี่ยน สื่อสาร และทำกิจกรรมรวมกัน ชุมชนใหญ่บ้างเล็กบ้างบนอินเทอร์เน็ตนั้น ก็ไม่ต่างจากสังคมบนโลกแห่งความเป็นจริง ที่จำเป็นต้องมีกฎกติกา (codes of conduct) เพื่อใช้เป็นกลไกสำหรับการกำกับดูแลพฤติกรรมและการปฏิสัมพันธ์ของสมาชิก
บัญญัติ 10 ประการสำหรับผู้เริ่มต้น
ถ้าศึกษาค้นคว้าในเรื่อง Netiquette บนเว็บ จะพบการอ้างอิงและกล่าวถึง The Core Rules of Netiquette จากหนังสือเรื่อง “Netiquette” เขียนโดย Virginia Shea ซึ่งเธอได้บัญญัติกฎกติกาที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตพึงตระหนักและยึดเป็นแนวปฏิบัติ 10 ข้อ ดังนี้
• Remember the Human กฏข้อที่ 1 เป็นข้อเตือนใจสำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในขณะที่เรานั่งพิมพ์ข้อความเพื่อติดต่อสื่อสารผ่านจอคอมพิวเตอร์นั้น ต้องไม่ลืมว่าปลายทางอีกด้านหนึ่งของการสื่อสารนั้นที่จริงแล้วก็คือ “มนุษย์”
• Adhere to the same standards of behavior online that you follow in real life กฎข้อที่ 2 เป็นหลักคิดง่าย ๆ ที่อาจจะยึดเป็นแนวปฏิบัติ หากไม่รู้ว่าควรจะทำตัวอย่างไร ก็ให้ยึดกติกามารยาทที่เราถือปฏิบัติในสังคมมาเป็นบรรทัดฐานของการอยู่ร่วมกันแบบออนไลน์
• Know where you are in cyberspace กฎข้อที่ 3 เป็นข้อแนะนำให้เราใช้งานอย่างมีสติ รู้ตัวว่าเรากำลังอยู่ ณ ที่ใด เมื่อเข้าในพื้นที่ใหม่ ควรศึกษาและทำความรู้จักกับชุมชนนั้น ก่อนที่จะเข้าร่วมสนทนาหรือทำกิจกรรมใด ๆ
• Respect other people's time and bandwidth กฎข้อที่ 4 ให้รู้จักเคารพผู้อื่นด้วยการตระหนักในเรื่องเวลา ซึ่งจะสัมพันธ์กับขนาดช่องสัญญาณของการเข้าถึงเครือข่าย นั่นคือ ให้คำนึงถึงสาระเนื้อหาที่จะส่งออกไป ไม่ว่าจะเป็นในกลุ่มสนทนาหรือการส่งอีเมล เราควรจะ “คิดสักนิดก่อน submit” ใช้เวลาตรึกตรองสักหน่อยว่า ข้อความเหล่านั้นเหมาะสมหรือมีสาระประโยชน์กับใครมากน้อยเพียงใด
• Make yourself look good online กฎข้อที่ 5 เป็นข้อแนะนำผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับการเขียนและการใช้ภาษา เนื่องจากปัจจุบันวิธีการสื่อสารบนเน็ตใช้การเขียนและข้อความเป็นหลัก การตัดสินว่าคนที่เราติดต่อสื่อสารด้วยเป็นคนแบบใด จะอาศัยสาระเนื้อหารวมทั้งคำที่ใช้ ดังนั้น ถ้าจะให้ “ดูดี” ก็ควรใช้ถ้อยคำที่เหมาะสมและตรวจสอบคำสะกดให้ถูกต้อง
• Share expert knowledge กฎข้อที่ 6 เป็นข้อแนะนำให้เรารู้จักใช้จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบของอินเทอร์เน็ต นั่นคือ การใช้เครือข่ายเพื่อเปิดโอกาสในการแลกเปลี่ยน ”ความรู้” รวมทั้งประสบการณ์กับผู้คนจำนวนมาก ๆ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ถือว่าเป็นจุดกำเนิดของอินเทอร์เน็ตนั่นเอง
• Help keep flame wars under control กฎข้อที่ 7 เป็นข้อคิดที่ต้องการให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตได้ร่วมมือกันเพื่อช่วยควบคุมและลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการส่งความคิดเห็นด้วยการใช้คำที่หยาบคาย เติมอารมณ์ความรู้สึกอย่างรุนแรงจนเป็นชนวนให้เกิดกรณีทะเลาะวิวาทกันในกลุ่มสมาชิก ซึ่งรู้จักกันในกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตว่า “flame”
• Respect other people's privacy กฎข้อที่ 8 เป็นคำเตือนให้เรารู้จักเคารพในความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น เช่นไม่อ่านอีเมลของผู้อื่น เป็นต้น
• Don't abuse your power กฎข้อที่ 9 เป็นคำเตือนสำหรับผู้ที่ได้รับสิทธิพิเศษ เช่น ผู้ดูแลระบบบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งมักจะได้รับสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่น บุคคลเหล่านี้ก็ไม่ควรใช้อำนาจหรือสิทธิ์ที่ได้รับไปในทางที่ไม่ถูกต้องและเป็นการเอาเปรียบผู้อื่น
• Be forgiving of other people's mistakes กฎข้อที่ 10 เป็นคำแนะนำให้เรารู้จักให้อภัยผู้อื่น โดยเฉพาะพวก newbies ในกรณีที่พบว่าเขาทำผิดพลาดหรือไม่เหมาะสม และหากมีโอกาสแนะนำคนเหล่านั้น ก็ควรจะชี้ข้อผิดพลาดและให้คำแนะนำอย่างสุภาพ โดยอาจส่งข้อความแจ้งถึงผู้นั้นโดยตรงผ่านทางอีเมล

วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553

อินเทอร์เน็ตคืออะไร

อินเทอร์เน็ตคืออะไร
อินเทอร์เน็ต (Internet) มาจากคำว่า Inter และ net
1. อินเทอร์ (Inter) คือ ระหว่าง หรือท่ามกลาง
2. เน็ต (Net) คือ เครือข่าย (Network)
อินเทอร์เน็ต (Internet) คือ เครือข่ายนานาชาติ ที่เกิดจากเครือข่ายเล็ก ๆ มากมาย รวมเป็นเครือข่ายเดียวกันทั้งโลก
คือ เครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ที่ต้องการเข้ามาในเครือข่าย
คือ การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย
คือ เครือข่ายของเครือข่าย
ประวัติความเป็นมา
อินเทอร์เน็ต คือ การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ตามโครงการของอาร์ป้าเน็ต (ARPAnet = Advanced Research Projects Agency Network) เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา
ค.ศ.1969(พ.ศ.2512) อาร์ป้าเน็ตได้รับทุนสนันสนุนจากหลายฝ่าย และเปลี่ยนชื่อเป็นดาป้าเน็ต (DARPANET = Defense Advanced Research Projects Agency Network) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบาย และได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิดจาก 4 เครือข่ายเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ 1)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลองแองเจอลิส 2)สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด 3)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตาบาบาร่า และ4)มหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค.ศ.1975(พ.ศ.2518) จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่งดาป้าเน็ตได้โอนหน้าที่รับผิดชอบให้แก่หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในอินเทอร์เน็ต, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัครทั้งสิ้น
ค.ศ.1983(พ.ศ.2526) ดาป้าเน็ตตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ จึงเป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาจนถึงปัจจุบัน เพราะ TCP/IP เป็นข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในโลกสื่อสารด้วยความเข้าใจบนมาตรฐานเดียวกัน
ค.ศ.1980(พ.ศ.2523) ดาป้าเน็ตได้มอบหน้าที่รับผิดชอบการดูแลระบบอินเทอร์เน็ตให้มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) ร่วมกับอีกหลายหน่วยงาน
ค.ศ.1986(พ.ศ.2529) เริ่มใช้การกำหนดโดเมนเนม (Domain Name) เป็นการสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distribution Database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บไซต์ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ในเครื่องบริการโดเมนเนมหรือไม่ ถ้ามีก็จะตอบกับมาเป็นหมายเลขไอพี ถ้าไม่มีก็จะค้นหาจากเครื่องบริการโดเมนเนมที่ทำหน้าที่แปลชื่ออื่น สำหรับชื่อที่ลงท้ายด้วย .th มีเครื่องบริการที่ thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของโดเมนเนมที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด
ค.ศ.1991(พ.ศ.2534)
ทิม เบอร์เนอร์ส ลี (Tim Berners-Lee) แห่งศูนย์วิจัย CERN ได้คิดค้นระบบไฮเปอร์เท็กซ์ขึ้น สามารถเปิดด้วย เว็บเบราวเซอร์ (Web Browser) ตัวแรกมีชื่อว่า WWW (World Wide Web) แต่เว็บไซต์ได้รับความนิยมอย่างจริงจัง เมื่อศูนย์วิจัย NCSA ของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์เออร์แบน่าแชมเปญจ์ สหรัฐอเมริกา ได้คิดโปรแกรม MOSAIC (โมเสค) โดย Marc Andreessen ซึ่งเป็นเว็บเบราว์เซอร์ระบบกราฟฟิก หลังจากนั้นทีมงานที่ทำโมเสคก็ได้ออกไปเปิดบริษัทเน็ตสเคป (Browser Timelines: Lynx 1993, Mosaic 1993, Netscape 1994, Opera 1994, IE 1995, Mac IE 1996, Mozilla 1999, Chimera 2002, Phoenix 2002, Camino 2003, Firebird 2003, Safari 2003, MyIE2 2003, Maxthon 2003, Firefox 2004, Seamonkey 2005, Netsurf 2007, Chrome 2008)
ในความเป็นจริงไม่มีใครเป็นเจ้าของอินเทอร์เน็ต และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ ผู้ติดสิน ผู้เสนอ ผู้ทดสอบ ผู้กำหนดมาตรฐานก็คือผู้ใช้ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ก่อนประกาศเป็นมาตรฐานต้องมีการทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้นก่อน ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain Name ก็จะยึดตามนั้นต่อไป เพราะอินเทอร์เน็ตเป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงข้อมูลพื้นฐานอาจต้องใช้เวลา

ข้อมูลจาก http://www.computerhistory.org/exhibits/internet_history/ และ http://www.sri.com/about/timeline/arpanet.html

วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

เตือน !! อันตรายเว็บลวงเข้าหน้า Google

เตือน !! อันตรายเว็บลวงเข้าหน้า Google ศูนย์ติดตามไวรัสทั่วโลกของ เทรนด์ ไมโคร อิงค์ เปิดเผยถึงรายงานสรุปภัยคุกคามในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ประจำเดือนตุลาคม ว่าหนึ่งในมัลแวร์ที่เกิดขึ้นเป็นที่รู้จักมากที่สุดได้ใช้บัญชีผู้ใช้ออ นไลน์ในระบบ Windows Live และ Hotmail นับพันรายในการโพสต์ข้อความ และขณะนี้ได้รับการยืนยันแล้วว่า บัญชีดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการใช้เทคนิคฟิชชิง "ดั้งเดิม" แต่ได้รับการพัฒนาให้กลายเป็นมัลแวร์ขโมยข้อมูลที่มีความซับซ้อนมากขึ้น สายพันธุ์ล่าสุดที่ชื่อ BEBLOH เปลี่ยนวิธีการจากเดิมที่ มัลแวร์ขโมยข้อมูลจะใช้คีย์ล็อกกิ้ง (การขโมยข้อมูลด้วยการตรวจจับการป้อนข้อมูลผ่านแป้นพิมพ์) และส่งข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ไปยังผู้ที่ไม่ประสงค์ดีเพื่อนำไปใช้หา ประโยชน์ในอนาคต แต่มัลแวร์สายพันธุ์ใหม่นี้จะมุ่งขโมยข้อมูลส่วนตัวเพื่อขโมยเงินออกจาก บัญชีของผู้ใช้โดยตรงเมื่อมัลแวร์เริ่มปฏิบัติการจะมีการเชื่อมต่อกับคำสั่ง และเข้าควบคุมเซิร์ฟเวอร์ซึ่งดาวน์โหลดไฟล์การกำหนดค่ามาปรับแต่งใหม่ โดยไฟล์ดังกล่าวระบุชื่อธนาคารเป้าหมาย ชื่อบัญชีที่จะรับโอนเงิน และจำนวนเงิน ความสามารถในการขโมยข้อมูลได้โดยที่ผู้ใช้ไม่รู้ตัว นอกจากนี้ ยังมีมัลแวร์ ZBOT ยังคงแพร่การติดเชื้ออย่างต่อเนื่องผ่านวิธีการหลากหลาย โดย เฉพาะการใช้เทคนิคกลลวงทางสังคม (Social Engineering Technigues) รวมถึงการโจมตีแบบฟิชชิง โดยใช้ชื่อของ CapitalOne ซึ่งเป็นธุรกิจด้านสินเชื่อรายใหญ่ เป็นเครื่องมือลวงให้ผู้ใช้ระบุข้อมูลส่วนตัวในการเข้าสู่ระบบโดยอาศัยความ ช่วยเหลือของ ZBOT สายพันธุ์ใหม่ ซึ่งจะปลอมตัวเป็น "ใบรับรอง ดิจิตอล" เพื่อหลอกให้ผู้ใช้เรียกใช้งาน ขณะที่ ZBOT อีกสายพันธุ์จะจำลองตัวเองให้เป็นระบบแจ้งข่าวสารทางอี-เมลจากผู้ดูแลระบบ ของบริษัทหลายแห่ง ซึ่งข้อความสแปมที่ผ่านการปรับแต่งแล้วจะถูกส่งตรงไปยังผู้ใช้เพื่อให้ "อัพเกรดเซิร์ฟเวอร์" และแทรกลิงค์ที่นำไปสู่การดาวน์โหลดมัลแวร์ไว้ด้วย และเมื่อเร็วๆ นี้ มีการโจมตีแบบฟิชชิงที่มีเป้าหมายเป็นผู้ใช้บริการจีเมล (Gmail) ในไต้หวัน ซึ่งใช้เทคนิคที่เรียกว่า "สเปียร์ฟิชชิง" (Spear Phishing : ฟิชชิงที่มีกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ) ในรูปแบบของอี-เมลที่สามารถกำหนด URL ฟิชชิงเองได้ ทำให้สามารถส่งไปยังชื่อผู้รับที่เฉพาะเจาะจงได้โดยตรง

วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553

10 วิธีลดเสี่ยง-เพิ่มสุข กับการหาเพื่อนออนไลน์


ได้ยินได้ฟังข่าวคราวเรื่องวัยรุ่นหลายคนกลายเป็น "เหยื่อ" ไปเพราะ "เพื่อนใหม่" ที่คบหากันผ่านทางอินเทอร์เน็ตแล้ว อย่าว่าแต่ผู้ปกครองที่มีลูกหลานรุ่นราวคราวเดียวกันจะกังวลใจเลยครับ อย่างผมเองก็ไม่สบายใจ เพราะไม่อยากให้ใครๆ มองว่าอินเทอร์เน็ตหรือห้องแช็ตต่างๆ เป็น "ไอ้ตัวร้าย" ไปเสียทั้งหมด

คุณงามความดีของมันก็มีอยู่บ้างละครับ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลือกใช้มันเป็นเครื่องมือไปในทางไหน

แล้วก็มานึกถึงว่าน่าจะพอมีวิธีการต่างๆ ที่ช่วยเหลือบรรดาผู้ใช้อินเทอร์เน็ตด้วยความบริสุทธิ์ใจเพื่อประโยชน์ที่ต้องการจริงๆ ก็ให้บังเอิญได้รับข้อเขียนเชิงแนะนำของ มาเรียน เมอร์ริตต์ บล็อกเกอร์อเมริกันที่ได้รับความนิยมอย่างมากจากเว็บล็อกเกี่ยวกับเรื่องผู้หญิงล้วนๆ ของเธอ ซึ่งตอนนี้หันมารับหน้าที่เป็นผู้ส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยภายใต้การสนับสนุนของ ไซแมนเทค บริษัทด้านซีเคียริตี้ชื่อดังของสหรัฐอเมริกา มาเรียนแนะนำวิธีลดเสี่ยง เพิ่มความสุข ความสนุกให้กับการติดต่อกับเพื่อนออนไลน์ครับ

คำแนะนำประการแรกก็คือ ถ้าเรายังใหม่ หรือเพิ่งไปพบเพื่อนใหม่ๆ ออนไลน์แล้วละก็ ทางที่ดีที่สุดก็คืออำพรางตัวเองซะ อย่างน้อยก็ในระดับหนึ่ง มาเรียนแนะเอาไว้ว่าอย่าใช้ชื่อจริง ให้เบอร์โทรศัพท์ หรือเปิดเผยสถานที่ทำงานกับเพื่อนใหม่ที่คุณพบออนไลน์ และถึงแม้จะพัฒนากันจนถึงขั้นนัดเจอะเจอกันเป็นครั้งแรกแล้วก็ยังไม่บังควร เก็บเอาไว้จนกว่าคุณจะแน่ใจก่อนว่าเราต้องการสานต่อความสัมพันธ์กับเขาจริงๆ ไม่งั้นอาจต้องมานั่งปวดหัวกับถูกตามตื๊อไม่สิ้นสุด และยังป้องกันการตกเป็นเหยื่อของคนร้ายได้อีกต่างหาก

ข้อแนะนำข้อ 2 นั้น มาเรียนบอกว่า ควรเปิดใช้อี-เมล แอดเดรสใหม่สำหรับการหาเพื่อนออนไลน์ ห้ามใช้ปะปนกับอี-เมลที่คุณใช้อยู่เป็นประจำครับ อ้อ! เธอบอกด้วยว่า อย่าตั้งชื่ออี-เมล จนดูเป็นการ "เชิญชวน" หรือ "ล่อแหลม" ไม่เหมาะไม่ควร และต้องไม่ใช้ชื่อจริงด้วย

ข้อ 3 นั้น มาเรียนแนะว่า ถ้ามีเวลา ก็ลองทำตัวเป็นนักสืบ สืบเสาะเรื่องราวเกี่ยวกับเพื่อนใหม่ของคุณดู ใช้ ยาฮู, กูเกิ้ล นี่แหละครับ ลองตรวจสอบดูว่าผลของมันแตกต่างกันมากน้อยแค่ไหนกับที่เขาเปิดเผยกับคุณ หรือคนคนนี้ไปร่วมอยู่ในชุมชนออนไลน์ที่ไหน ในลักษณะใดอีกบ้าง

ในสหรัฐอเมริกาเขามีเว็บไซต์หนึ่งน่าสนใจครับ ชื่อ
http://www.dontdatehimgirl.com/ เป็นแหล่งที่คุณผู้หญิงใช้ในการแฉโพยคู่เดตประวัติร้ายทั้งหลาย เพื่อไม่ให้ใครตกเป็นเหยื่ออีก ผมว่าแนวคิดทำนองนี้น่าจะนำมาใช้ในบ้านเราบ้างก็คงได้นะครับ แต่คงต้องประยุกต์ใหม่กันอยู่บ้างให้เข้ากับแนวทางไทยๆ เรา

ข้อ 4 มาเรียนแนะว่า แม้จะนัดเจอกันแล้ว ก็ควรระมัดระวังตัวให้รอบคอบครับ เริ่มตั้งแต่การป้องกันข้าวของส่วนตัว หรือเอกสารต่างๆ เช่น ใบเสร็จ กุญแจรถ กระเป๋าเงิน ให้ดีเพราะสิ่งของเหล่านี้อาจชักนำภัยร้ายเข้ามาใกล้ตัวเรา อย่างเช่นเราอาจตกเป็นเหยื่อถูกขโมยหมายเลขบัตรเครดิตไปใช้โดยไม่รู้ตัวเป็นอาทิ เอาไว้รู้จักมักคุ้นกันจนวางใจได้ค่อยเปิดเผยกันก็ไม่สายครับ

ข้อ 5 นี่ก็เป็นคำแนะนำที่น่าสนใจครับ มาเรียนบอกว่า เมื่อนัดกันหนแรกนั้นให้บอกคนอื่นให้รับรู้ด้วยว่านัดกันที่ไหนอย่างไร อาจเป็นเพื่อนสนิทที่เราไว้วางใจขอให้แอบไปเป็นเพื่อนชนิดที่เขาคนนั้นไม่รู้เรื่องด้วยในครั้งแรกๆ แล้วก็อย่าลืมช่วยกันหาทางหนีทีไล่ คำแก้ตัวที่สมเหตุสมผลเอาไว้ "ชิ่ง" พ่อตัวดี ถ้าหากสถานการณ์เกิดไม่เข้าทีขึ้นมา

ข้อ 6 เธอแนะนำไว้ง่ายๆ ครับว่า
อย่าให้เบอร์โทรศัพท์ของคุณไปจนกว่าจะแน่ใจว่าเขาไม่มีพิษมีภัยแล้วจริงๆ

ข้อ 7 มาเรียนแนะว่า ในการนัดพบกันครั้งแรกหรืออีก 2-3 ครั้งถัดมา ต้องนัดพบกันในที่สาธารณะที่มีคนเยอะๆ เท่านั้น อย่านัดพบกันที่บ้านเขา หรือเผลอไปนัดมาที่บ้านคุณเด็ดขาด ถ้าเห็นเขาทำท่าทีลึกๆ ลับๆ ละก็ ให้รีบปฏิเสธและผละหนีมาทันที

ข้อ 8 ในกรณีที่ต้องการ "หาคู่รัก" ออนไลน์ หรือหาเพื่อนผ่านเว็บไซต์ต่างๆ มาเรียนแนะนำว่า ขอให้ใช้บริการของเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ มีระบบป้องกันข้อมูลรั่วไหลที่ดี (ถึงค่าบริการจะแพงกว่าก็เถอะ)

ข้อ 9 มาเรียนบอกว่า อย่าไว้ใจบริษัทจัดหาคู่ หรือให้บริการหาเพื่อนเหล่านี้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ว่าพวกเขาจะเก็บสำเนาข้อความหรือข้อมูลต่างๆ ของคู่เดตเอาไว้ให้เรา แต่ขอให้ทำสำเนาเก็บไว้เองด้วยเผื่อเอาไว้ จับพลัดจับผลูอาจกลายเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญของคุณในอนาคตก็ได้

ข้อสุดท้ายนั้น ก็ไม่พ้นเรื่องของการเก็บรักษาข้อมูล ป้องกันคอมพิวเตอร์ของคุณให้รอดปลอดภัยจาก มัลแวร์ ต่างๆ นานา ไม่ว่าจะผ่านทางแช็ตรูมหรือมากับอี-เมล ทั้งที่เป็นสแปมและฟิชชิ่ง โดยใช้ซอฟต์แวร์เพื่อการรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ และต้องหมั่นอัพเดตอยู่เสมอๆ ครับ

ทำทั้ง 10 ข้อได้ ผมเล็งเห็นว่าน่าจะลดความเสี่ยงในการคบเพื่อนออนไลน์ของคุณลงได้อักโขแล้วละครับ

ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต



.. . . . ตามที่กล่าวมาแล้วว่า อินเตอร์เน็ต คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่ครอบคลุม ไปทั่วโลก พร้อมกับมีข้อมูลมหาศาล ทุกประเภท ให้เราค้นคว้า และรับส่งข้อมูล ไปมาระหว่างกันได้ ในตอนนี้ จะขอยกตัวอย่างประโยชน์ ของการใช้งานอินเตอร์เน็ต ด้านต่าง ๆ ให้เห็นพอสังเขป

. . . . ในด้านการศึกษา เราต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตเพื่อค้นคว้าหาข้อมูลได้ ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลทางวิชาการจากที่ต่าง ๆ ซึ่งในกรณีนี้ อินเตอร์เน็ต จะทำหน้าที่เหมือนห้องสมุด ขนาดยักษ์ ส่งข้อมูลที่เราต้องการ มาให้ถึงบนจอคอมพิวเตอร์ที่บ้านหรือที่ทำงานของเรา ไม่กี่วินาทีจากแหล่งข้อมูลทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม ศิลปกรรม สังคมศาสตร์ กฎหมายและอื่นๆ


. . . . อีกส่วนที่เกี่ยวข้องกันก็คือ ประโยชน์การรับส่งข่าวสาร ผู้ใช้ที่ต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต สามารถรับส่งจดหมายอิเล็กตรอนิกส์ หรือ E-mail กับผู้ใช้คนอื่นๆ ทั่วโลก ในเวลาอันรวดเร็ว ได้โดยค่าใช้จ่ายต่ำมาก นอกจากนี้ ยังอาจส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น แฟ้มข้อมูล รูปภาพ ข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ที่เป็นภาพและเสียง ได้อีกด้วย


. . . . สำหรับด้านธุรกิจและการค้า ช่วยในการซื้อขายสินค้าผ่านคอมพิวเตอร์ เราสามารถเลือกดูสินค้า พร้อมคุณสมบัติผ่านจอคอมพิวเตอร์ของเรา และสั่งซื้อ และจ่ายเงินด้วย บัตรเครดิตได้ทันที ซึ่งนับว่าเป็นความสะดวกสบาย และรวดเร็วมาก สินค้ามีจำหน่าย ทุกประเภท เหมือนห้างสรรพสินค้าใหญ่ ๆ เลยทีเดียว


. . . . นอกจากนี้ ผู้ใช้ ที่เป็นบริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ หรือ สนับสนุน ลูกค้าของตน ผ่านอินเตอร์เน็ต เช่น การตอบคำถาม หรือข้อสงสัยต่าง ๆ ให้คำแนะนำ รวมถึงข่าวสารใหม่ๆแก่ลูกค้าได้


. . . . ประโยชน์อินเตอร์เน็ต ที่ผู้ใช้กันมากที่สุดอีกอย่างหนึ่ง คือ ความบันเทิง และการ พักผ่อนหย่อนใจ หรือสันทนาการ เช่น เลือกอ่านวารสารต่างๆ ผ่านอินเตอร์เน็ต ที่เรียกว่า magazine แบบ online รวมถึงหนังสือพิมพ์ และข่าวสารอื่น ๆ โดยมีภาพประกอบบนจอคอมพิวเตอร์ เหมือนกับหนังสือ ปกติที่เราดูอยู่กันทุกวัน


. . . . นอกเหนือจากประโยชน์ต่าง ๆ ที่กล่าวมา ซึ่งล้วนแต่เป็นในมุมมอง ของผู้ใช้ข้อมูล หรือบริการทั่ว ๆ ไป แล้ว ในแง่ของผู้ให้ข้อมูล เช่น ผู้ผลิตสินค้า และบริการต่าง ๆ อินเตอเน็ตก็มีประโยชน์ตรงที่ เป็นช่องทางสำหรับ การเผยแพร่ข้อมูลของตนเอง ได้ในวงกว้าง ด้วยค่าใช้จ่ายต่ำ แถมยังสามารถเข้าถึง กลุ่มคนที่ใช้งานอินเตอร์เน็ต (ซึ่งนับได้ว่าเป็น"หัวกะทิ" ของกลุ่มลูกค้า เป้าหมาย ที่น่าจะมีกำลังซื้อมากพอสมควร) ได้โดยตรง การโฆษณาเผยแพร่ เรื่องต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ต จึงขยายตัวอย่างรวดเร็ว รวมทั้งเป็นช่องทาง
หรือเวทีในการแสดงความคิดเห็น ถกเถียงแลกเปลี่ยนทัศนะในเรื่อง ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ฯลฯ ที่สามารถตอบโต้กันได้ ชนิดทันต่อเหตุการณ์ หรือความเปลี่ยนแปลง และค่อนข้าง จะเป็นอิสระ ต่อการควบคุม หรือกลั่นกรอง ขององค์กรหรือหน่วยงานในภาครัฐ ของแต่ละประเทศ


. . . . ว่ากันว่า ความล่มสลายของสหภาพโซเวียต หรือความเปลี่ยนแปลง ทางการเมืองอย่างรวดเร็ว ในกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก มีส่วนมาจาก ข่าวสารขอ้มูลของโลกภายนอก ที่ผ่านเข้ามาในบริเวณเหล่านั้น ผ่านทาง เทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น โทรทัศน์ผ่านดาวเทียม และรวมถึงอินเตอร์เน็ตด้วย อย่างไรก็ตาม ความง่าย ราคาถูก และรวดเร็วของโฆษณา เผยแพร่ทาง อินเตอร์เน็ต บางครั้งก็มีผลในทางตรงกันข้าม กลายเป็นการ เปิดโอกาส ให้ใคร ๆ ก็สามารถเผยแพร่ขอ้มูล ในเรื่องที่ไม่ดีไม่งาม หรือให้ร้ายผู้อื่นได้โดยง่าย โดยลงทุนลงแรงเพียงเล็กน้อย แถมยังมีผล ในวงกว้างไปทั่วโลกอีกด้วย